biew

biew

วันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่5

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ. ตฤน แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี 13/12/56
เรียนครั้งที่5 เวลาเรียน 14:10-17:30
เวลาเข้าเรียน 14:10 เวลาเลิกเรียน 15:30
................................................................
เนื่องจากว่าวันนี้อาจารย์ติดประชุม อาจารย์เลยมอบหมายงานให้นักศึกษาทำในห้องเรียน คือนำกระดาษสีรูปทรงวงกลมหรือสามเหลี่ยมเป็นต้น มาประกอบให้เกิดเป็นรูปสัตว์โดยการวาดรูปเพิ่มเติมลงไป ตกแต่งให้สวยงาม ถ้าใครเสร็จแล้วให้นำไปส่งหน้าห้อง และกลับบ้านได้เลย ดิฉันทำรูปกระต่ายค่ะ
#รูปประกอบการเรียนการสอนวันนี้ค่ะ ^^~




................................................................
จบแล้วค่ะ
นางสาว วรัญญา ตุลา

วันอังคารที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่4

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ. ตฤน แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี 6/12/56
เรียนครั้งที่4 เวลา 14:10-17:30
เวลาเข้าเรียน 14:10 เวลาเลิกเรียน 16:00
................................................................
ในวันนี้เป็นการนำเสนองานของแต่ล่ะกลุ่มที่เคยมอบหมายไว้ให้ มีทั้งหมด5กลุ่ม คือ
1. การนับ
2. การวัด
3. เรขาคณิต
4. พีชคณิต
5. ความน่าจะเป็น
กลุ่มของดิฉันคือกลุ่มที่1 การนับ
= การนับจะเป็นไปตามขั้นของการพัฒนาการของเด็กแต่ล่ะช่วงวัย และเด็กปฐมวัยจะไม่มีการเรียนตัวเลขไทย นั้นเอง
#ภาพประกอบการเรียนการสอนวันนี้ค่ะ ^^







................................................................
จบแล้วค่ะ ^^
นางสาว วรัญญา ตุลา

วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่3

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ. ตฤน แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี 22/11/56
เรียนครั้งที่3 เวลาเรียน 14:10-17:30
เวลาเข้าเรียน 14:10 เวลาเลิกเรียน 14:00
................................................................
วันนี้อาจารย์ก็สอนเข้าเนื้อหา
จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
- เพื่อให้เด็กมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เป็นการรู้จักคำศัพท์
- เพื่อพัฒนามโนภาพเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เป็นการบวกลบ
- เพื่อให้เด็กรู้จักและใช้กระบวนการหาคำตอบ
- เพื่อให้เด็กฝึนฝนคณิตศาสตร์พื้นฐาน
- เพื่อให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจ
- เพื่อส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบด้วยตัวเอง

ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
1. การสังเกต (observation)
- การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งมารวมกัน
2. การจำแนกปีะเภท (classifying)
- การแบ่งประเภทส่งของโดยหาเกณฑ์
- เกณฑ์ในการจำแนกคือความเหมือน
3. การเปรียบเทียบ (comparing)
- เด็กต้องอาศัยความสัมพันธ์ของวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์ สองสิ่งขึ้นไป
- เด็กต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของสิ่งนั้น และรู้จักคำศัพท์คณิตศาสตร์ที่ต้องใช้
4. การจัดลำดับ (ordering)
- เป็นการเปรียบเทียบขั้นสูง
- การจัดความสำคัญวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์
5. การวัด (measurement)
- มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการอนุรักษ์
- การวัดสำหรับเด็กปฐมวัย ได้แก่ อุณหภูมิ ระยะทาง ความยาว น้ำหนัก ปริมาณ
*การวัดของเด็กปฐมวัย ไม่ใช่หน่วยมาตรฐานในการวัด
6. การนับ (counting)
- เด็กชอบการนับแบบท่องจับโดยไม่เข้าใจความหมาย
- การนับแบบท่องจำ จะมีความหมายต่อเมื่อเชื่อมโยงกับจุดประสงค์บางอย่าง
7. รูปทรงและขนาด (sharp and size)
- เด็กส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับรูปทรง และขนาดก่อนที่จะเข้าเรียนเสียอีก

ต่อมาเมื่ออาจารย์สอนเนื้อหาเสร็จ อาจารย์ก็ได้มีกิจกรรมให้นักศึกษาทำ อาจารย์แจกกระดาษเปล่าขนาดเท่าA4 แล้วกฌแจกกระดาษสีแบ่งๆกันใช่ อาจารย์บอกให้วาดวงกลมขนาดพอประมาณ แล้วก็เขียนเลขอะไรก็ได้ใส่กลางวงกลมนั้น ต่อมาอาจาีย์บอกเราจะมาทำดอกไม้กัน โดยให้ทำกลีบดอกไม้ตามจำนวนเลขที่เราเขียนไป เช่นดิฉันเขียนเลข2 กลีบดอกไม้ของดิฉันก็มีแค่2กลีบนั้นเอง

#ภาพประกอบการเรียนการสอนวันนี้ค่ะ ^,^





................................................................
จบแล้วค่ะ ^^
นางสาว วรัญญา ตุลา

วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่2

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ. ตฤน แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี 15/11/56
เรียนครั้งที่2 เวลาเรียน 14:10-17:30
เวลาเข้าเรียน 14:10 เวลาเลิกเรียน 16:00
................................................................
ในวันนี้อาจารย์สอนเข้าเนื้อหาคือ

ความหมายของคณิตศาสตร์
- ระบบการคิดของมนุษย์ เพื่อศึกษาอธิบายความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆในเชิงปริมาณ โดยใช้ภาพ สัญลักษณ์ การพูด การเขียน และเป็นการเรียนรู้เพื่อความเข้าใจ เกี่ยวกับจำนวนตัวเลข การคิดคำนวน การวัด เรขาคณิต พีชคณิต การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น เป็นต้น

ความสำคัญของคณิตศาสตร์
- เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน
- ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหาโดยเฉพาะอาศัยหลักการทางคณิตศาสตร์
- เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสำรวจข้อมูล การวางแผนงาน และการประเมินผล
- เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ของวิชาต่างๆ โดยเฉพาะวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ทฤษฏีพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัยตามแนวคิดของ piaget
1. ขั้นพัฒนาการด้านปีะสาทสัมผัส (sensorimotor stage) แรกเกิด-2ปี
- เด็กได้เรียนรู้จากปีะสาทสัมผัสต่างๆ
- สามารถจดจำสิ่งต่างๆ ของวัตถุได้
2. ขั้นเตรียมการความคิดที่มีเหตุผล (preperational stage) 2-7ปี
- ใช้ภาษาพูดแสดงความรู้ ความคิด
- เริ่มรู้จักบอกขนาด น้ำหนัก รูปทรง ความยาว

การอนุรักษ์ (conservation)
- เด็กสามารถพัฒนาการอนุรักษ์ได้โดย
การนับ การจับคู่ การเปรียบเทียบรูปทรง

ต่อมาอาจารย์ให้วาดรูปสัตว์อะไรก็ได้ที่มีขาอย่างชัดเจน ดิฉันวาดผึ่ง อาจารย์ก็ให้เวลาวาดรูปและระบายสีตกแต่งให้สวยงาม ต่อมาเมื่อทุกคนทำเสร็จแล้ว อาจารย์ได้แจกกระดาษและกาว พร้อมกับบอกว่าให้ใส่รองเท้าให้กับสัตว์ที่ตัวเองวาดทุกขา ซึ่งเพื่อนบางคนวาดสัตว์มีขาเยอะก็ยากนั้นเอง
# ภาพประกอบการเรียนการสอนวันนี้ค่ะ >,~


................................................................
จบแล้วค่ะ ^^
นางสาว วรัญญา ตุลา

บันทึกอนุทินครั้งที่1

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ. ตฤน แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี 8/11/56
เรียนครั้งที่1 เวลาเรียน 14:10-17:30
เวลาเข้าเรียน - เวลาเลิกเรียน -
................................................................
วันนี้ดิฉันไม่ได้มาเรียนเนื่องจากป่วย ไม่สบายอยู่โรงพยาบาลค่ะ 
................................................................
จบแล้วค่ะ ^^
นางสาว วรัญญา ตุลา